การตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์มักเป็นหนึ่งในวิธีที่ตรงจุดที่สุดในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มูลค่าที่อินฟลูเอนเซอร์สร้างให้กับแบรนด์เพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า ปัจจุบันมีแบรนด์มากถึง 1 ใน 4 ที่ร่วมงานกับครีเอเตอร์บนโซเชียลมีเดียเป็นประจำ
การจ้างอินฟลูเอนเซอร์เพื่อโปรโมตสินค้าจึงเป็นกลยุทธ์ที่ชัดเจน แต่คำถามคือ… อินฟลูเอนเซอร์ควรมี “เรทราคา” เท่าไร?
เพราะไม่มีมาตรฐานกลางในการวัดผลลัพธ์ของการตลาดสายนี้ จึงทำให้การเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะสมกับแบรนด์ รวมถึงการตกลงเรื่องราคาค่าจ้าง กลายเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อย
เพื่อช่วยให้วางแผนได้แม่นยำยิ่งขึ้น เราได้รวบรวมข้อมูล รทราคาอินฟลูล่าสุดประจำปี 2025 พร้อมปัจจัยสำคัญที่ควรพิจารณาก่อนตกลงร่วมงานกับอินฟลูเอนเซอร์
เรทราคาอินฟลู 2025 อัปเดต
ค่าจ้างอินฟลูเอนเซอร์ไม่มีเรทกลางตายตัว เพราะมักเป็นการเจรจาโดยตรงระหว่างครีเอเตอร์กับแบรนด์ ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่เปิดเผย และอาจแตกต่างกันตามความนิยมของอินฟลูเอนเซอร์แต่ละราย
อย่างไรก็ตาม มีหลายบริษัทด้านวิเคราะห์โซเชียลมีเดีย เช่น Influencer Marketing Hub, Izea, Meltwater, Hootsuite และ Later ที่ได้รวบรวมข้อมูลเรทราคาอินฟลูจากแบบสำรวจและฐานข้อมูลภายใน
โดยสรุปแล้ว เราสามารถคาดการณ์ค่าใช้จ่ายได้คร่าวๆ ตามแพลตฟอร์มยอดนิยม ดังนี้
เรทราคาอินฟลู Instagram
อินฟลูเอนเซอร์บนไอจีสามารถโพสต์เกี่ยวกับการเข้าพักที่โรงแรม รีวิวร้านอาหาร แชร์การใช้สินค้าผ่านสตอรี่ หรือคอลแลปกับบัญชีของแบรนด์ เพื่อช่วยเพิ่มผู้ติดตามใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยทั่วไปมีเรทราคาอินฟลูไอจีที่นิยมใช้กันอยู่ที่ประมาณ 3,500 บาท ต่อผู้ติดตาม 10,000 คน
อย่างไรก็ตาม ราคานี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามจำนวนโพสต์ที่ตกลงกัน ความเหมาะสมของกลุ่มผู้ติดตามกับแบรนด์ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น ค่าผลิตคอนเทนต์ หรือสิทธิ์ความพิเศษ (exclusivity)
จากผลสำรวจในหมู่อินฟลูเอนเซอร์ไอจี พบว่า โพสต์สปอนเซอร์ 1 โพสต์มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 45,500 บาท โดยแบ่งช่วงราคาตามจำนวนผู้ติดตามได้ดังนี้
- นาโนอินฟลูเอนเซอร์ (500–10,000 คน): 350 – 3,500 บาทต่อโพสต์
- ไมโครอินฟลูเอนเซอร์ (10,000–50,000 คน): 3,500 – 17,500 บาทต่อโพสต์
- มิดเทียร์อินฟลูเอนเซอร์ (50,000–100,000 คน): 17,500 – 175,000 บาทต่อโพสต์
- แมโครอินฟลูเอนเซอร์ (100,000–500,000 คน): 175,000 – 350,000 บาทต่อโพสต์
- เมกาอินฟลูเอนเซอร์ (มากกว่า 500,000 คน): 350,000 บาทขึ้นไปต่อโพสต์

สำหรับไอจี Reels เรทราคาจะอยู่ในช่วงใกล้เคียงกับโพสต์ทั่วไป โดยมีตั้งแต่ประมาณ 3,500 บาท ไปจนถึงกว่า 245,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ติดตามและการเข้าถึงของบัญชี
ในขณะที่ เรทของ Stories แบบจำกัดเวลา มักจะมีราคาต่ำกว่า โดยอยู่ในช่วง ประมาณ 1,750 บาท ถึงกว่า 43,750 บาทต่อ 1 ชิ้นคอนเทนต์
จากผลสำรวจล่าสุดในหลายแพลตฟอร์มพบว่า อินฟลูเอนเซอร์กลุ่มไมโครและมิดเทียร์ กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่เรทราคาอินฟลูระดับเมกาเริ่มลดลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
อินฟลูเอนเซอร์ขนาดเล็กมักสร้างคอนเทนต์ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะทาง (niche) ได้ดี ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อแบรนด์อย่างมาก และหลายคนก็อยู่ในช่วงเริ่มต้นเส้นทางอาชีพ จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับแบรนด์ในการสร้างความสัมพันธ์ตั้งแต่เนิ่นๆ
เรทราคาอินฟลู TikTok
จากผลสำรวจของอินฟลูเอนเซอร์บน TikTok พบว่า ราคาเฉลี่ยของวิดีโอสปอนเซอร์ 1 ชิ้นอยู่ที่ประมาณ 94,500 บาท
โดยสามารถแบ่งเรทราคาตามจำนวนผู้ติดตามได้ ดังนี้
- นาโนอินฟลูเอนเซอร์ (1,000–10,000 คน): 175 – 875 บาทต่อโพสต์
- ไมโครอินฟลูเอนเซอร์ (10,000–100,000 คน): 875 – 4,375 บาทต่อโพสต์
- มิดเทียร์อินฟลูเอนเซอร์ (100,000–500,000 คน): 4,375 – 42,000 บาทต่อโพสต์
- แมโครอินฟลูเอนเซอร์ (500,000–1,000,000 คน): 42,000 – 87,500 บาทต่อโพสต์
- เมกาอินฟลูเอนเซอร์ (มากกว่า 1,000,000 คน): เริ่มต้นที่ 87,500 บาทขึ้นไปต่อโพสต์
TikTok เป็นแหล่งรวมของอินฟลูเอนเซอร์ระดับแมโครและเมกา ซึ่งแม้จะไม่ใช่คนดังระดับเซเลบ แต่ก็มียอดผู้ติดตามหลักล้านที่คอยดูคอนเทนต์ของพวกเขาทุกวัน โดยอินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้สามารถทำรายได้มากกว่า 350,000 บาทต่อโพสต์ ได้ไม่ยาก
แม้ว่า TikTok จะเติบโตอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด แต่จำนวนผู้ใช้งานต่อเดือนโดยรวมก็ยังน้อยกว่าแพลตฟอร์มอย่างไอจีอยู่พอสมควร
เรทราคาอินฟลู YouTube
วิดีโอบน YouTube มีแนวโน้มที่จะดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้นานกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ ทำให้แบรนด์สามารถแทรกการโปรโมตได้หลายจุดภายในคลิป และด้วยฐานผู้ชมกลุ่มใหญ่ ทำให้อินฟลูเอนเซอร์บน YouTube มักคิดค่าจ้างสูงกว่าไอจีและ TikTok
จากการประเมินราคาโดยเฉลี่ยจากแหล่งข้อมูลออนไลน์ต่างๆ เรทราคาอินฟลู YouTube แบ่งได้ตามจำนวนผู้ติดตาม ดังนี้
- นาโนอินฟลูเอนเซอร์ (10,000–50,000 คน): 700 – 7,000 บาทต่อวิดีโอ
- ไมโครอินฟลูเอนเซอร์ (50,000–100,000 คน): 7,000 – 175,000 บาทต่อวิดีโอ
- มิดเทียร์อินฟลูเอนเซอร์ (100,000–500,000 คน): 175,000 – 350,000 บาทต่อวิดีโอ
- แมโครอินฟลูเอนเซอร์ (500,000–1,000,000 คน): 350,000 – 700,000 บาทต่อวิดีโอ
- เมกาอินฟลูเอนเซอร์ (มากกว่า 1,000,000 คน): 700,000 บาทขึ้นไปต่อวิดีโอ

Emily DiDonato
ใน YouTube อินฟลูเอนเซอร์บางรายอาจตั้งราคาค่าจ้างโดยอิงจากจำนวนยอดวิวของวิดีโอทั้งหมด หรือยอดวิวเฉพาะช่วงที่มีการแทรกโฆษณาภายในวิดีโอ
เรทราคาอินฟลู YouTube ยังขึ้นอยู่กับประเภทคอนเทนต์ที่แบรนด์ต้องการด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น
- ครีเอเตอร์บางคนผลิตวิดีโอที่มีการแทรกโฆษณาแบบเนียนภายในคอนเทนต์หลัก โดยใส่เข้าเป็นช่วงๆ ระหว่างเนื้อหา
- บางคนสร้าง คอนเทนต์แบบสปอนเซอร์เต็มรูปแบบ เช่น คลิปแกะกล่อง รีวิวสินค้า หรือวิดีโอลองใช้จริง ซึ่งแบรนด์หรือสินค้าจะถูกนำเสนออย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวิดีโอ
💡 ลองใช้สูตรนี้ประเมินความคุ้มค่าของอินฟลูเอนเซอร์
David Gaylord ผู้ประกอบการและอดีต Chief of Staff ที่ Shopify แนะนำสูตรง่ายๆ สำหรับวัดความคุ้มค่าก่อนตัดสินใจจ้างอินฟลูเอนเซอร์
(ยอดวิว + ไลก์ + คอมเมนต์เฉลี่ยจากโพสต์ 5 ชิ้นล่าสุด) ÷ เรทราคาอินฟลู
การหารต้นทุนที่ต้องจ่ายกับผลงานเฉลี่ยที่อินฟลูเอนเซอร์ทำได้ (หรือที่เรียกว่า CPM: Cost per Mille) จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าเงินที่จ่ายไป “คุ้ม” แค่ไหน และสามารถใช้เปรียบเทียบอินฟลูเอนเซอร์หลายๆ รายในลิสต์ของคุณได้ด้วยตัวเลขเดียว

วิธีหาอินฟลูเอนเซอร์ให้ตรงงบ แบบคุ้มค่า
ลองพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ เพื่อให้แคมเปญอินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้งของคุณอยู่ในงบ และหลีกเลี่ยงเหล่ามิจฉาชีพบนโซเชียลมีเดีย
การมีส่วนร่วมของโพสต์สปอนเซอร์
โดยทั่วไปแล้ว โพสต์แบบสปอนเซอร์มักได้รับการมีส่วนร่วมน้อยกว่าโพสต์ออร์แกนิก อินฟลูเอนเซอร์ที่มีประสบการณ์จะรู้จุดนี้ดี จึงมักวางแผนลงโพสต์โปรโมตสลับกับคอนเทนต์ที่เป็นธรรมชาติเพื่อรักษาโมเมนตัม
เคล็ดลับ: อย่าดูแค่ยอดรวมของทั้งแอคเคานต์ ให้ดูเฉพาะผลงานของโพสต์สปอนเซอร์ เพื่อประเมินศักยภาพจริงของอินฟลูเอนเซอร์
การเติบโตของผู้ติดตาม
อินฟลูเอนเซอร์ที่มียอดผู้ติดตามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมักจะได้เปรียบ เพราะอัลกอริทึมของแพลตฟอร์มจะขยายการเข้าถึงโพสต์จากบัญชีที่เป็นที่นิยมอยู่แล้ว
สิ่งที่หลายแบรนด์ไม่รู้ก็คืออินฟลูเอนเซอร์บางรายอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าบัญชีของตัวเองโตเร็วแค่ไหน เทียบกับคู่แข่ง ซึ่งเป็นข้อมูลที่คุณสามารถใช้ต่อรองเรทราคาอินฟลูได้
กลุ่มเป้าหมาย
แพลตฟอร์มส่วนใหญ่มีข้อมูล demographic รายละเอียด เช่น อายุ เพศ และที่อยู่ของผู้ติดตาม ใช้ข้อมูลนี้ เพื่อวางกลยุทธ์เรทราคาอินฟลูและเลือกให้ตรงกับตลาดของคุณ
ตัวอย่างเช่น หากร้านค้าออนไลน์ของคุณจัดส่งเฉพาะในสหรัฐฯ ควรพิจารณาสัดส่วนของผู้ติดตามที่อยู่ในสหรัฐฯ ด้วย ไม่ใช่ดูแค่จำนวนผู้ติดตามทั้งหมด
การสร้างการรับรู้แบรนด์ในประเทศอื่นไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ก็ไม่ควรเป็นจุดโฟกัสหากไม่ได้อยู่ในกลุ่มเป้าหมายของคุณ
บอท
ควรระวังอินฟลูเอนเซอร์ที่อวดผลงานเกินจริง เพราะบางคนอาจใช้วิธีปั่นยอด เช่น ซื้อผู้ติดตามปลอมหรือใช้ Engagement Bot
สัญญาณเตือนที่ควรระวัง
- จำนวนผู้ติดตามเพิ่มขึ้นแบบผิดธรรมชาติในเวลาอันสั้น
- อัตราการมีส่วนร่วมไม่คงที่
- คอมเมนต์ซ้ำๆ หรือดูไม่มีสาระ เช่น “Nice!” “Cool 😍” ในทุกโพสต์
ผลลัพธ์และเรทราคาอินฟลู
อินฟลูเอนเซอร์ที่มีประสบการณ์ส่วนใหญ่มักเตรียมสื่อข้อมูลสำหรับแบรนด์พาร์ตเนอร์ ซึ่งประกอบด้วย เรทชีต (Rate Sheet) ที่ระบุค่าบริการตามประเภทคอนเทนต์ เช่น โพสต์, สตอรี่, คลิป Reels, วิดีโอ YouTube ฯลฯ หรือ วิดีโอผลงาน (Reel/Portfolio) ที่รวมตัวอย่างคอนเทนต์ที่ผ่านมา พร้อมไฮไลต์ผลลัพธ์ เช่น ยอดวิว ยอดไลก์ หรืออัตราการมีส่วนร่วม หรือจะเป็นแพ็กเกจการทำงานที่มีให้เลือกตามงบหรือลักษณะแคมเปญ เช่น แบบรายครั้ง รายเดือน หรือแบบคอลแลประยะยาว
ก่อนตกลงทำงาน ควรส่งข้อความพูดคุยกับอินฟลูเอนเซอร์ล่วงหน้าเพื่อสอบถามเรทราคา และทำความเข้าใจความคาดหวังของทั้งสองฝ่ายให้ชัดเจน เพราะการรู้เรทราคาโดยเฉลี่ยในกลุ่มอุตสาหกรรมหรือกลุ่มเป้าหมายที่คุณทำตลาดอยู่ จะช่วยให้คุณ ตัดสินใจอย่างมีข้อมูล และต่อรองได้อย่างมืออาชีพ
💡 อยากได้ตัวอย่างอื่นๆ เพิ่ม? ดูแพลตฟอร์มการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ที่ดีที่สุด แหล่งค้นหาครีเอเตอร์ที่มีคุณภาพ

วิธีต่อรองเรทราคาอินฟลูให้คุ้มและเป็นมิตร
ก่อนติดต่อกับอินฟลูเอนเซอร์ ควรพิจารณากลยุทธ์โซเชียลมีเดียโดยรวมและเป้าหมายของแบรนด์ให้ชัดเจน นอกจากนี้ให้ตัดสินใจด้วยว่า
- จะเสนอค่าคอมมิชชันแบบ affiliate ให้กับอินฟลูฯ หรือไม่
- จะช่วยสนับสนุนต้นทุนการผลิตคอนเทนต์หรือเปล่า
การเข้าใจโครงสร้างค่าใช้จ่ายและรูปแบบความร่วมมือที่เป็นไปได้ตั้งแต่ต้น จะช่วยให้การพูดคุยเรื่องเรทราคาอินฟลูเป็นมิตรและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน
กำหนดให้ชัดว่าคุณต้องการเห็นผลลัพธ์อะไรจากการลงทุนจ้างอินฟลูเอนเซอร์ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ที่จะใช้ติดตามผล เป้าหมายของคุณอาจรวมถึง
- เพิ่มการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness)
- เพิ่มยอดขาย
- เพิ่มจำนวนผู้ติดตาม
- สร้างความน่าเชื่อถือทางสังคม (Social Proof)
การรับรู้แบรนด์
อินฟลูเอนเซอร์สามารถช่วยแนะนำแบรนด์ของคุณให้กับผู้ติดตาม พร้อมทั้งขยายการรับรู้ข้อความของแบรนด์ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขึ้น ไม่ว่าแคมเปญนั้นจะนำไปสู่ยอดเข้าชมเว็บไซต์หรือยอดขายหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ตรงกลุ่มได้แค่ไหน
วัดผลการรับรู้แบรนด์ได้จากเมตริก เช่น Reach, Impressions และ จำนวนคลิกไปยังเว็บไซต์หรือบัญชีโซเชียล
ยอดขาย
หากเป้าหมายของคุณคือยอดขาย ให้ติดตามเมตริกอย่าง ยอด Conversion, อัตราการคลิก (CTR) และ รายได้จากแคมเปญ
ควรเลือกทำงานกับอินฟลูเอนเซอร์ที่สามารถแสดงการใช้สินค้า/บริการได้จริง เช่น อินฟลูแนวไลฟ์สไตล์ที่สามารถใส่สินค้าเข้าไปในกิจวัตรประจำวันอย่างเป็นธรรมชาติ
ผู้ติดตาม
หนึ่งในสิ่งที่ส่งผลต่อการดีลเรทราคาอินฟลู คือ ฟอลโลเวอร์ การโพสต์ร่วมกันระหว่างบัญชีของอินฟลูเอนเซอร์และแบรนด์ (Cross-posting) มักเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการเพิ่มยอดผู้ติดตามจากแคมเปญอินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้ง
ติดตามผลด้วยเมตริก เช่น การเติบโตของผู้ติดตาม, อัตราการมีส่วนร่วม และ จำนวนผู้ติดตามใหม่ที่เพิ่มขึ้นระหว่างและหลังแคมเปญ
กระแสตอบรับจากโซเชียลมีเดีย
Social proof มีบทบาทสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจให้กับแบรนด์ เมื่อลูกค้ากำลังตัดสินใจซื้อสินค้า พวกเขามักจะมองหา “เสียงจากคนอื่น” ผ่านโซเชียลมีเดีย เพื่อยืนยันว่าสินค้านั้นได้รับความนิยมและใช้งานได้จริง
คุณสามารถติดตามความสามารถของอินฟลูเอนเซอร์ในการสร้างกระแสตอบรับจากโซเชียลมีเดียได้จากเมตริกต่างๆ เช่น จำนวนคอมเมนต์ ไลก์ แชร์ และ คอนเทนต์ที่ผู้ใช้งานสร้างขึ้น (User-Generated Content) ที่เกี่ยวข้องกับแคมเปญ
ให้เรทราคาอินฟลูเป็นค่าคอมแบบ Affiliate
Affiliate marketing เป็นรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนตามผลงาน (Performance-based) ที่แบรนด์จะจ่ายค่าคอมมิชชันให้กับอินฟลูเอนเซอร์เมื่อเกิดยอดขายจริง
อินฟลูเอนเซอร์ที่เข้าร่วมโปรแกรม Affiliate จะได้รับลิงก์เฉพาะ (Referral Link) เพื่อนำไปแชร์ให้ผู้ติดตาม หากมีลูกค้าคลิกและสั่งซื้อสินค้า อินฟลูเอนเซอร์ก็จะได้รับเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย
เนื่องจากระบบนี้จ่ายเงินตามผลงาน การเริ่มต้นโปรแกรม Affiliate จึงเป็นวิธีที่ดีในการใช้ทรัพยากรกับอินฟลูเอนเซอร์ได้อย่างคุ้มค่า
คุณสามารถเจรจาเงื่อนไขเรทราคาอินฟลูที่เป็นค่าคอมแบบเฉพาะตัวกับอินฟลูเอนเซอร์หลายราย รวมถึงครีเอเตอร์สายอื่น เช่น บล็อกเกอร์ นักรีวิว หรือพอดแคสเตอร์ก็ได้
💡 Shopify Collabs ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยร้านค้าสร้าง บริหาร และติดตามยอดขายจาก Affiliate ได้อย่างง่ายดาย
คำนวณผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI)
การคำนวณ ROI ล่วงหน้าเป็นวิธีง่ายที่สุดวิธีหนึ่งในการดูว่าอินฟลูเอนเซอร์คนใดเหมาะกับงบประมาณของคุณหรือไม่
สูตรคำนวณ ROI สำหรับอินฟลูเอนเซอร์
(กำไรที่คาดว่าจะได้รับ – ต้นทุนการลงทุน) ÷ ต้นทุนการลงทุน × 100 = ROI%
ตัวอย่างเช่น หากคุณลงทุนในแคมเปญอินฟลูเอนเซอร์ 70,000 บาท และคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนกลับมา 315,000 บาท (315,000 – 70,000) ÷ 70,000 × 100 = ROI 350%
พิจารณาต้นทุนการผลิต
เมื่อต้องร่วมงานกับอินฟลูเอนเซอร์รายเล็ก อาจพิจารณาเสนอค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมไปกับเรทราคาอินฟลูแทนค่าจ้างแบบเหมาจ่าย ซึ่งอาจให้ความคุ้มค่ามากกว่า และบางค่าใช้จ่ายยังสามารถนำไปหักลดหย่อนทางภาษีได้ด้วย
ในกรณีของอินฟลูเอนเซอร์รายใหญ่ การจัดการโปรดักชันที่ซับซ้อนมักเป็นหน้าที่ของฝั่งครีเอเตอร์เอง อย่างไรก็ตาม แบรนด์ก็ควรเข้าใจว่า คำขอคอนเทนต์ของคุณจะส่งผลต่อการถ่ายทำอย่างไร
หากบรีฟของคุณต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติม นักแสดง ทีมงาน หรือสถานที่ถ่ายทำพิเศษ อาจต้องยอมรับเรทราคาอินฟลูที่สูงขึ้นตามความเหมาะสม
ตกลงเรื่องกำหนดการส่งงานให้ชัดเจน
เมื่อต้องร่วมงานกับอินฟลูเอนเซอร์ สิ่งสำคัญคือต้องกำหนดความคาดหวังให้ชัด และพิจารณาไทม์ไลน์การผลิตของครีเอเตอร์ด้วย หากร้องขอให้โพสต์หลายชิ้นในช่วงเวลาสั้นๆ อาจทำให้ข้อเสนอของคุณไม่ดึงดูด โดยเฉพาะกับอินฟลูเอนเซอร์ที่มีงานแน่นหรือติดภารกิจอื่นอยู่แล้ว

ปัจจัยที่ส่งผลต่อเรทราคาอินฟลู
นอกเหนือจากจำนวนผู้ติดตามและอัตราการมีส่วนร่วมแล้ว อินฟลูเอนเซอร์อาจปรับเรทราคาตามปัจจัยเพิ่มเติมเหล่านี้
สิทธิการใช้งาน
หากแบรนด์ต้องการสิทธิ์นำคอนเทนต์ที่อินฟลูเอนเซอร์สร้างไปใช้ต่อ เช่น ทำโฆษณาหรือใช้บนแพลตฟอร์มอื่น ครีเอเตอร์มักจะเรียกค่าจ้างที่สูงขึ้น
ความพิเศษเฉพาะแบรนด์
ข้อตกลงแบบ Exclusive คือการห้ามอินฟลูเอนเซอร์ไปร่วมงานกับคู่แข่งของคุณในช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งอาจจำกัดโอกาสทางรายได้ของครีเอเตอร์ และส่งผลต่อการเจรจาเรื่องราคา
ค่าธรรมเนียมเอเจนซี่
อินฟลูเอนเซอร์จำนวนไม่น้อยมีผู้จัดการหรือเอเจนซี่ดูแล ซึ่งมักมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมที่รวมอยู่ในค่าจ้างเรทราคาอินฟลูด้วย
ระยะเวลาแคมเปญ
ระยะเวลาแคมเปญ มีผลโดยตรงต่อเรทราคาอินฟลูเอนเซอร์ หากเป็นงานระยะสั้น เช่น การจัดกิจกรรมหรือโปรโมชันแบบครั้งเดียว ราคาจะต่ำกว่าสัญญาระยะยาวที่ให้การสนับสนุนแบรนด์ต่อเนื่อง
การสร้างโมเดลความเสี่ยงและผลตอบแทนในแคมเปญ (Risk Model) โดยคาดการณ์ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดจากอินฟลูเอนเซอร์ จะช่วยให้คุณกำหนดงบประมาณได้แม่นยำยิ่งขึ้น
แพ็กโพสต์หลายช่องทาง
หากแบรนด์ของคุณทำการตลาดหลายแพลตฟอร์ม คุณสามารถขอให้อินฟลูเอนเซอร์ปรับคอนเทนต์ให้เหมาะสมกับแต่ละช่อง เช่น ใช้งานบนไอจี, TikTok และ YouTube พร้อมกัน
แม้ราคาเรทราคาอินฟลูจะสูงขึ้น แต่คุณจะสามารถเข้าถึงผู้ชมหลายกลุ่มได้ในแคมเปญเดียว และขยายผลได้มากกว่า
ค่าธรรมเนียมเร่งด่วน
หากคุณต้องการให้อินฟลูเอนเซอร์ทำงานและส่งงานในเวลาสั้นๆ พวกเขาอาจขอค่าด่วนเพิ่มเติมจากเรทราคาปกติ
ลิงก์ใน Bio
หากเป้าหมายของคุณคือการเพิ่มทราฟฟิกไปยังเว็บไซต์ การขอลิงก์ไว้ที่ Bio ของอินฟลูเอนเซอร์ก็เป็นอีกทางเลือกที่ได้ผล แต่โดยทั่วไปจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเช่นกัน

ประเภทของความร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์
โดยทั่วไป อินฟลูเอนเซอร์มักจะมีสื่อแนะนำตัว (Press Kit) ที่ระบุเรทราคา และรูปแบบความร่วมมือที่พวกเขายินดีรับงานร่วมกับแบรนด์ไว้ล่วงหน้า
ต่อไปนี้คือ ประเภทความร่วมมือยอดนิยม ระหว่างแบรนด์กับครีเอเตอร์ที่พบได้บ่อย
โปรแกรมพันธมิตร
อินฟลูเอนเซอร์แบบ Affiliate จะโปรโมตสินค้า หรือบริการ และได้รับค่าคอมมิชชันจากยอดขายที่เกิดจากลิงก์แนะนำของตนเอง ความร่วมมือรูปแบบนี้เป็นที่นิยมทั้งในฝั่งแบรนด์และครีเอเตอร์ เพราะเข้าถึงง่ายและไม่มีต้นทุนเริ่มต้นสำหรับทั้งสองฝ่าย
อัตราค่าคอมมิชชันของอินฟลูเอนเซอร์จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตัวสินค้าและขนาดของครีเอเตอร์ที่ร่วมงาน
💡 อ่านเพิ่มเติม: Instagram Affiliate Marketing กับทุกสิ่งที่คุณต้องรู้
แบรนด์แอมบาสเดอร์
Brand ambassador คืออินฟลูเอนเซอร์ที่สร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับแบรนด์ของคุณอย่างต่อเนื่อง เป็นความร่วมมือในระยะยาวที่ทำให้อินฟลูเอนเซอร์มีความผูกพันกับแบรนด์ระดับสูง เสมือนเป็นแฟนตัวยง (หรือแม้แต่โฆษกที่ไม่เป็นทางการ) ของแบรนด์คุณ
คอนเทนต์สปอนเซอร์
โพสต์สปอนเซอร์แบบมาตรฐานมักประกอบด้วยรูปภาพหรือวิดีโอพร้อมคำบรรยาย โดยทั่วไปอินฟลูเอนเซอร์จะเป็นผู้สร้างคอนเทนต์ทั้งหมดเอง แต่ในบางกรณี นักการตลาดของแบรนด์อาจทำงานร่วมกับอินฟลู เพื่อร่วมกันวางแผนและพัฒนาคอนเทนต์ให้เหมาะกับแคมเปญ
การให้ของขวัญ
บางแบรนด์จะส่งสินค้าฟรีให้กับอินฟลูเอนเซอร์ โดยหวังว่าจะได้รับรีวิวหรือคำแนะนำเชิงบวกแบบเป็นธรรมชาติผ่านช่องทางสาธารณะ กลยุทธ์นี้มักได้ผลดีกับไมโครอินฟลูเอนเซอร์ที่ยินดีรับของขวัญแลกกับการพูดถึงแบรนด์
การแจกของรางวัล
การแจกของรางวัลหรือจัดกิจกรรมเล่นเกม มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มผู้ติดตามและการรับรู้แบรนด์ในระยะสั้น ซึ่งความร่วมมือประเภทนี้สามารถทำร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์หลายคนในแคมเปญเดียวได้
งบประมาณสำหรับแคมเปญควรระบุค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง (รวมถึงมูลค่าของรางวัล) และ ROI ที่คาดว่าจะได้รับ
โดยทั่วไปกิจกรรมแจกของรางวัลมักให้ผลตอบแทนที่ดี ดังนั้นควรตั้งเป้าให้แคมเปญมีกำไร หากคุณขายสินค้า หมายความว่างบค่าจ้างอินฟลูเอนเซอร์และรางวัลควรน้อยกว่ายอดขายที่คาดว่าจะได้รับ
หากคุณกำลังรันแคมเปญเพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ งบของกิจกรรมควรน้อยกว่ามูลค่าการรับรู้สื่อที่ได้กลับมา วิธีหนึ่งในการประเมินมูลค่าสื่อนี้ คือคาดการณ์จำนวนการเข้าถึง ผู้ติดตาม และการมีส่วนร่วมที่อาจเกิดขึ้น แล้วเปรียบเทียบกับมาตรฐานของวงการ
การกล่าวถึงในแคปชัน
การกล่าวถึงแบรนด์ในแคปชันมีลักษณะคล้ายกับโพสต์แบบสปอนเซอร์ สามารถใช้เพื่อกระตุ้นการกระทำ (Call to Action) ได้หลากหลาย และถือเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่า เพราะมีต้นทุนการผลิตต่ำ
การยึดแพลตฟอร์มชั่วคราว
การยึดแพลตฟอร์มชั่วคราว คือการที่อินฟลูเอนเซอร์เข้ามาสร้างคอนเทนต์โดยตรงบนบัญชีโซเชียลของแบรนด์ รูปแบบนี้เป็นที่นิยมบน Instagram, TikTok และ Snapchat โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มผู้ติดตามและเข้าถึงกลุ่มผู้ชมใหม่
เรทราคาอินฟลูเท่าไรถึงคุ้ม วิเคราะห์ทุนกับผลลัพธ์ที่ได้
ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวถึงแบรนด์เพียงครั้งเดียวหรือการร่วมมือระยะยาว อินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะสมสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ในแบบที่แบรนด์เองอาจไม่สามารถทำได้โดยตรง
หากคุณกำลังประสบปัญหาเรื่องการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้า ขยายการรับรู้แบรนด์ หรือแม้แต่เพียงต้องการให้กลุ่มเป้าหมายเริ่มรู้จัก ลองพิจารณาจัดสรรงบสำหรับแคมเปญอินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้ง
ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มติดต่ออินฟลูเอนเซอร์อย่างไรดี?
Shopify Collabs ช่วยให้ร้านค้าส่งของขวัญและลิงก์ Affiliate ให้กับอินฟลูเอนเซอร์ได้อย่างง่ายดาย เพื่อให้พวกเขาแชร์สินค้าของคุณกับผู้ติดตามได้ทันที
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเรทราคาอินฟลู
ควรเตรียมอะไรบ้างก่อนติดต่ออินฟลูเอนเซอร์?
ก่อนติดต่ออินฟลูเอนเซอร์ ควรทำความเข้าใจรูปแบบธุรกิจและนิยามของ “ความสำเร็จ” สำหรับแคมเปญของคุณให้ชัดเจน สิ่งนี้จะช่วยให้การพูดคุยเรื่องโปรเจกต์และเรทราคาอินฟลูมีความหมาย และยังช่วยให้เข้าใจเป้าหมายทางการตลาดของคุณได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
จะกำหนดงบประมาณสำหรับแคมเปญอินฟลูเอนเซอร์อย่างไร?
คุณสามารถประเมินงบประมาณเรทราคาอินฟลูโดยอ้างอิงจากขนาดบัญชี จำนวนผู้เข้าถึง และอัตราการมีส่วนร่วม จากความร่วมมือก่อนหน้านี้ของอินฟลูเอนเซอร์ แล้วคำนวณผลตอบแทนที่คาดหวัง (ROI) จากการลงทุนนั้น จากนั้นจัดสรรงบให้เหมาะสมกับ รูปแบบความร่วมมือ ที่ต้องการ เช่น Affiliate, จ่ายคงที่ (Fixed Rate) หรือส่งของให้เป็นของขวัญ (Gifting)
จะรู้ได้อย่างไรว่าอินฟลูเอนเซอร์แบบไหนเหมาะกับธุรกิจของคุณ?
เริ่มจากการวิจัยกลุ่มเป้าหมายของคุณอย่างละเอียด แล้วมองหาอินฟลูเอนเซอร์ที่ คอนเทนต์สอดคล้องกับธุรกิจของคุณ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ ประวัติการร่วมงานกับแบรนด์อื่น และสถิติการมีส่วนร่วม (Engagement) เพื่อวัดศักยภาพ ขอเรทชีตและกรณีศึกษาจากลิสต์อินฟลูที่คุณเล็งไว้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
จะวัดผลแคมเปญอินฟลูเอนเซอร์ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ ต้องทำอย่างไร?
เริ่มจากการกำหนดเป้าหมายของแคมเปญให้ชัด เช่น การสร้างการรับรู้แบรนด์ ทราฟฟิกเว็บไซต์ หรือยอดขาย จากนั้นตั้งค่าตัวชี้วัด (KPI) ที่เหมาะสม เช่น Reach, CTR หรือ Conversion แล้วเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่วางไว้ เพื่อดูว่าแคมเปญให้ผลลัพธ์เกินหรือไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้