การซื้อต่อร้านออนไลน์สามารถช่วยให้คุณมีรายได้แบบพาสซีฟหรือช่วยให้คุณเริ่มต้นได้เร็วกว่าเมื่อเทียบกับการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ตั้งแต่ศูนย์
แม้ว่าจะมีเว็บไซต์และร้านค้าออนไลน์นับพันที่ประกาศขายอยู่ แต่ไม่ใช่ทุกธุรกิจออนไลน์ที่จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า สิ่งสำคัญคือคุณต้องศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณกำลังลงทุนอย่างปลอดภัยและฉลาด
ไปดูกันว่าควรซื้อธุรกิจที่ไหน อย่างไร และเพราะอะไร ผ่านตลาดออนไลน์สำหรับซื้อขายร้านและธุรกิจ
พร้อมเริ่มต้นธุรกิจของคุณแล้วหรือยัง? สร้างเว็บไซต์ของคุณได้เลยวันนี้ หรือเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือของ Shopify ที่ช่วยให้คุณขายของออนไลน์และขายหน้าร้านได้ง่ายขึ้น
ซื้อต่อร้านออนไลน์ ทำยังไง
การซื้อต่อร้านออนไลน์มีขั้นตอนมาตรฐานที่ควรทำ ตั้งแต่การค้นหาธุรกิจในตลาดซื้อขาย การตรวจสอบสินทรัพย์ ไปจนถึงการเจรจาข้อตกลงการซื้อขาย
เลือกประเภทของร้านที่คุณอยากซื้อต่อ
เวลาค้นหาร้านเพื่อซื้อต่อ สิ่งแรกที่ควรทำคือการตัดสินใจว่าคุณต้องการธุรกิจแบบไหน ร้านบางแห่งที่ประกาศขายอยู่ในสภาพดี มีผู้เข้าชมและยอดขายสม่ำเสมอ ในขณะที่บางร้านอาจหยุดชะงักหรือต้องการการฟื้นฟู
คุณอยากได้ร้านที่ต้องลงมือปรับปรุงหรือร้านที่ดำเนินการได้อย่างราบรื่นอยู่แล้ว
- ร้านที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นหรือหยุดนิ่ง อาจต้องใช้เวลาและความพยายามมากขึ้นในการสร้างใหม่ แต่ก็มีโอกาสเติบโตและทำกำไรได้ในระยะยาว
- ร้านที่ตั้งตัวได้แล้ว มักมีความมั่นคงมากกว่าและคืนทุนได้เร็วกว่า แต่ก็มักจะมีราคาขายที่สูงขึ้น
“ฉันกับสามีตั้งใจมองหาร้านที่ตั้งตัวได้แล้วแต่ยังต้องการการอัปเดตบางอย่างเพื่อขยายการเติบโต” Mona Vaughn เจ้าของร้านขายสินค้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงออนไลน์ชื่อ Bean Farm เล่าให้ฟัง “ร้านที่ดำเนินกิจการอยู่แล้วมักมาพร้อมกับข้อมูลจำนวนมาก ความภักดีของลูกค้า และการเจาะตลาดที่ทำไปแล้วบางส่วน”
“เป้าหมายของเราคือหาร้านที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ และพร้อมสำหรับการรีแบรนด์ภาพลักษณ์ รวมถึงการเปลี่ยนไปใช้การดำเนินงานดิจิทัลหรือการตลาดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เราคิดว่านี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้การลงทุนของเราคืนทุนได้เร็วและมียอดขายอย่างสม่ำเสมอ”
ธุรกิจบางแห่งอาจให้บริการลูกค้าได้เต็มศักยภาพแล้ว และอาจมีพื้นที่ในการเติบโตจำกัด หากไม่มีการพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่เพิ่มเติม ในขณะที่บางธุรกิจก็อาจเพิ่งเริ่มต้นหรือยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ
เลือกดูร้านที่ประกาศขาย
หลังจากที่คุณตัดสินใจได้แล้วว่าต้องการซื้อต่อร้านประเภทไหน ขั้นตอนต่อไปคือการเริ่มค้นหา มีหลายช่องทางที่คุณสามารถมองหาร้านที่เปิดขายอยู่ ไม่ว่าจะเป็นตลาดซื้อขายออนไลน์หรือเว็บไซต์นายหน้าธุรกิจ
- ลองสำรวจแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้: ลองดูในตลาดอย่าง Flippa และ BizBuySale ซึ่งมีร้านค้าหลากหลายประเภทให้เลือก คุณสามารถปรับแต่งการค้นหาได้ตามเกณฑ์ต่างๆ เช่น ข้อมูลทางการเงิน ที่ตั้ง หรือประเภทอุตสาหกรรม
- เชื่อมโยงเครือข่ายในพื้นที่: ติดต่อเครือข่ายธุรกิจท้องถิ่นหรือคนรู้จักในวงการของคุณ เพื่อหาข้อมูลวงในและโอกาสซื้อกิจการที่อาจไม่ได้ประกาศขายแบบสาธารณะ
อย่าลืมทำความเข้าใจโมเดลธุรกิจต่างๆ ที่คุณอาจเจอในการซื้อต่อร้านออนไลน์ อาทิ
-
ธุรกิจขายส่งและ B2B:
ร้านขายส่งขายสินค้าในปริมาณมากให้กับธุรกิจอื่น แทนที่จะขายให้ผู้บริโภครายย่อยโดยตรง -
ร้านค้าอีคอมเมิร์ซ:
ร้านค้าออนไลน์ที่ขายสินค้าโดยตรงให้กับลูกค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต -
เว็บไซต์สร้างรายได้จากโฆษณาหรือพันธมิตร:
เว็บไซต์ที่มีรายได้จากการลงโฆษณาหรือการใส่ลิงก์การตลาด Affiliate เพื่อรับค่าคอมมิชชัน -
ธุรกิจที่ต้องบริหารจัดการสต็อกจำนวนมาก:
ธุรกิจที่ต้องดูแลและจัดการสินค้าคงคลังจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าจริงหรือร้านค้าออนไลน์
สำรวจเหตุผลว่าทำไมเจ้าของถึงอยากขายร้าน
การรู้เหตุผลว่าทำไมร้านถึงถูกประกาศขายเป็นเรื่องสำคัญ บางครั้งเหตุผลก็ตรงไปตรงมา เช่น เจ้าของเกษียณอายุหรืออยากไปโฟกัสกับโปรเจกต์อื่น แต่บางครั้งแรงจูงใจอาจไม่ชัดเจน และการสืบหาข้อมูลของคุณอาจช่วยให้คุณเจอปัญหาที่ซ่อนอยู่ได้
สิ่งที่คุณควรทำระหว่างการค้นหาข้อมูลเพื่อซื้อต่อร้านออนไลน์ ได้แก่
- พูดคุยกับเจ้าของร้านปัจจุบัน: การได้พูดคุยโดยตรงจะทำให้คุณได้ข้อมูลเชิงลึกที่คุณไม่สามารถหาได้จากเอกสารการเงินหรือเว็บไซต์
- ตรวจสอบงบการเงิน: ขอเอกสารกระแสเงินสดและประวัติการเงินของร้าน ตรวจสอบว่ามีหนี้สินหรือภาระทางการเงินค้างอยู่หรือไม่ โดยการตั้งคำถามที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับสุขภาพทางการเงินของธุรกิจ
- สอบถามเรื่องปัญหาการดำเนินงาน: ถามถึงปัญหาซัพพลาย การสภาพของอุปกรณ์ หรือเงินทุนหมุนเวียน เพื่อดูว่าร้านดำเนินกิจการได้ราบรื่นแค่ไหน
- พิจารณาแผนธุรกิจ: การดูแผนธุรกิจจะช่วยให้คุณเข้าใจวิสัยทัศน์และทิศทางของเจ้าของเดิม นี่เป็นโอกาสที่ดีที่จะดูว่าร้านไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือสามารถปรับตัวตามตลาดได้หรือไม่
- ตรวจสอบโซเชียลมีเดียและการแสดงตัวตนออนไลน์: ดูว่าร้านทำผลงานออนไลน์เป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นยอดขายจากแพลตฟอร์มออนไลน์หรือการมีส่วนร่วมบนโซเชียล สิ่งเหล่านี้จะบอกคุณได้ถึงชื่อเสียงและความสัมพันธ์กับลูกค้า
ประเมินมูลค่าร้านออนไลน์ก่อนซื้อต่อ
ก่อนตัดสินใจซื้อต่อร้านออนไลน์ คุณควรพยายามหาค่าที่แท้จริงของร้านนั้น อย่าอ้างอิงแค่ราคาที่ประกาศขายเท่านั้น แต่ควรทำการประเมินมูลค่าอย่างอิสระ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณได้เปรียบในการเจรจาและมั่นใจได้ว่าคุณตัดสินใจอย่างมีข้อมูลครบถ้วน
มีหลายวิธีในการประเมินมูลค่าธุรกิจ นายหน้าซื้อขายธุรกิจสามารถช่วยเชื่อมโยงคุณกับนักบัญชีรับอนุญาต (CPA) หรือผู้ประเมินมูลค่าที่ได้รับการรับรอง (ASA) เพื่อช่วยประเมินร้านที่คุณกำลังพิจารณา
“ผู้ขายมีตัวเลขในใจอยู่แล้ว แต่เราต้องพิจารณามูลค่าจากมุมมองของเราเอง โดยดูจากทั้งกรณีที่ดีที่สุดและกรณีที่แย่ที่สุด” Rob Weatherhead ที่ปรึกษาด้านดิจิทัลอิสระกล่าวถึงประสบการณ์การซื้อต่อธุรกิจของเขา “โชคดีที่เราได้พูดคุยอย่างเปิดเผยกับผู้ขาย จึงไม่มีการต่อรองที่ตึงเครียด เราแค่หาวิธีที่จะทำให้ทั้งสองฝ่ายพอใจได้”
การเข้าใจมูลค่าของร้านจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้คุณในการเจรจาราคา เพราะคุณจะมีเหตุผลที่ชัดเจนและมีข้อมูลรองรับข้อเสนอของคุณ ซึ่งอาจนำไปสู่ข้อตกลงที่เป็นประโยชน์มากขึ้น
สร้างแผนการเงินสำหรับซื้อต่อร้านออนไลน์
เมื่อคุณพร้อมจะซื้อต่อร้าน ขั้นตอนต่อไปคือการวางแผนว่าจะหาเงินมาจ่ายอย่างไร โชคดีที่คุณไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนส่วนตัวทั้งหมดเสมอไป เพราะมีตัวเลือกทางการเงินหลายแบบที่ช่วยให้คุณสามารถซื้อร้านได้โดยไม่ต้องมีเงินก้อนโตตั้งแต่แรก
นี่คือตัวอย่างวิธีที่ได้รับความนิยมในการหาเงินทุนสำหรับซื้อต่อร้าน
-
สินเชื่อธนาคารแบบดั้งเดิม:
นี่คือสินเชื่อทั่วไปที่ธนาคารจะให้คุณยืมเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ จากนั้นคุณจะต้องชำระคืนเป็นงวดๆ ตามระยะเวลาที่กำหนด หากคุณมีประวัติเครดิตดี การขอสินเชื่อส่วนบุคคลก็อาจเป็นทางเลือกที่ใช้ได้ แม้ว่าวงเงินอาจจำกัดตามคุณสมบัติของคุณก็ตาม -
สินเชื่อจากผู้ขาย:
บางครั้งผู้ขายร้านเดิมอาจเป็นผู้ให้เงินทุนบางส่วนในการซื้อขายด้วยตนเอง คุณสามารถตกลงให้เจ้าของเดิมให้เครดิตคุณ และคุณชำระคืนในระยะเวลาที่กำหนด วิธีนี้ช่วยให้ข้อตกลงเดินหน้าได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งพาการขอสินเชื่อจากธนาคารเพียงอย่างเดียว -
การจัดหาเงินทุนจากยอดขายล่วงหน้า:
วิธีนี้คือการขอเงินทุนล่วงหน้าโดยใช้ยอดขายในอนาคตของร้านเป็นหลักประกัน ผู้ให้กู้จะให้เงินก้อนหนึ่งล่วงหน้า และคุณจะต้องชำระคืนเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขายที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นทางเลือกที่ยืดหยุ่นและเหมาะกับธุรกิจออนไลน์ที่มีรายได้สม่ำเสมอ -
สินเชื่อ SBA:
สินเชื่อนี้จัดทำโดยหน่วยงาน Small Business Administration (SBA) ของสหรัฐฯ ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเข้าถึงเงินทุนได้ง่ายขึ้น SBA จะร่วมมือกับผู้ให้กู้โดยช่วยค้ำประกันเงินกู้บางส่วนเพื่อลดความเสี่ยงของผู้ให้กู้ วิธีนี้ทำให้ธุรกิจมีโอกาสได้รับอนุมัติสินเชือง่ายขึ้น -
การขอสินเชื่อผ่านสหกรณ์เครดิต:
สหกรณ์เครดิตบางแห่งเสนออัตราดอกเบี้ยที่ดีกว่าธนาคารทั่วไป แต่โดยปกติคุณจะต้องเป็นสมาชิกของสหกรณ์ก่อนจึงจะสามารถใช้สิทธิ์ขอสินเชื่อได้ หากคุณเป็นสมาชิกของสหกรณ์เครดิตอยู่แล้ว วิธีนี้อาจเป็นทางเลือกที่ช่วยประหยัดต้นทุนในการซื้อต่อร้านได้
เจรจาราคา
เมื่อคุณตรวจสอบข้อมูลครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเจรจาราคาที่คุณพร้อมจะจ่ายเพื่อซื้อต่อร้าน
คุณควรเตรียมใจไว้ว่า คุณกับผู้ขายอาจต้องมีการเสนอราคาและโต้ตอบข้อเสนอไปมาอยู่หลายรอบ นอกจากนี้ คุณยังต้องกำหนดเงื่อนไขเบื้องต้นของการซื้อขายในระหว่างกระบวนการนี้ เช่น คุณต้องการซื้อเฉพาะสินทรัพย์ของร้านหรือซื้อแค่สต็อกสินค้า
นี่คือวิธีจัดการกับกระบวนการเจรจาซื้อต่อร้านออนไลน์
-
ใช้การประเมินมูลค่าเป็นแนวทาง:
การประเมินมูลค่าร้านที่คุณทำไปก่อนหน้านี้ควรเป็นพื้นฐานของข้อเสนอเริ่มต้นของคุณ วิธีนี้ช่วยให้ข้อเสนอของคุณมีหลักการที่ชัดเจนและอิงจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินอย่างเป็นระบบ -
เตรียมพร้อมที่จะประนีประนอม:
แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่คุณจะได้ราคาตามที่ต้องการแบบเป๊ะๆ ในการเจรจา คุณควรพร้อมที่จะเจอกันครึ่งทางหรือปรับเปลี่ยนเงื่อนไขบางอย่างเพื่อให้ดีลนี้น่าสนใจสำหรับทั้งสองฝ่าย -
เข้าใจแรงจูงใจของผู้ขาย:
ถ้าคุณรู้ว่าทำไมผู้ขายถึงอยากขายร้าน คุณจะสามารถปรับข้อเสนอให้ตรงกับความต้องการของเขาได้ เช่น ถ้าผู้ขายต้องการขายให้เร็ว ข้อเสนอราคาที่ต่ำกว่าก็อาจกลายเป็นทางเลือกที่ยอมรับได้สำหรับเขา -
ตัดสินใจเลือกระหว่างสินทรัพย์หรือสต็อกสินค้า:
คุณต้องพิจารณาว่าจะซื้อต่อร้านออนไลน์เฉพาะสินทรัพย์ที่จับต้องได้และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนของร้าน หรือจะซื้อต่อในรูปแบบของสต็อกสินค้าเท่านั้น การตัดสินใจข้อนี้จะมีผลต่อความซับซ้อนทางกฎหมายและภาระความรับผิดชอบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต -
รักษาการสื่อสารให้สุภาพ:
การเจรจาที่ดีควรทำให้ทั้งสองฝ่ายรู้สึกพึงพอใจ พยายามรักษาการสนทนาให้เป็นมืออาชีพและสร้างสรรค์ เพื่อช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อคุณเมื่อถึงเวลาส่งต่อกิจการและการทำงานร่วมกันในอนาคต
ส่งจดหมายแสดงเจตจำนง
เมื่อคุณตั้งใจจริงที่จะซื้อต่อร้านออนไลน์ การเขียนจดหมายแสดงเจตจำนงหรือ Letter of Intent (LOI) เป็นสิ่งที่ควรทำ LOI จะช่วยให้ทุกฝ่ายมีความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับพื้นฐานของข้อตกลงก่อนที่จะลงลึกในรายละเอียดของสัญญาทางกฎหมาย
โดยทั่วไปแล้ว LOI ควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
-
คู่สัญญาที่เกี่ยวข้อง:
ระบุให้ชัดเจนว่าใครเป็นผู้ซื้อต่อร้านออนไลน์และใครเป็นผู้ขาย เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกรรมนี้ -
เงื่อนไขข้อตกลงโดยรวม:
สรุปว่าคุณตั้งใจจะซื้ออะไรและเงื่อนไขพื้นฐานของการซื้อขายมีอะไรบ้าง เช่น เป็นการซื้อต่อสินทรัพย์ สต็อกสินค้า หรือซื้อกิจการทั้งหมด -
ข้อกำหนดและข้อจำกัด:
ถ้าคุณต้องการเก็บรายละเอียดการเจรจาไว้เป็นความลับ นี่เป็นโอกาสที่คุณจะเพิ่มข้อตกลงไม่เปิดเผยข้อมูล (NDA) ลงไป -
ระยะเวลา:
การกำหนดไทม์ไลน์จะช่วยให้ธุรกรรมดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และช่วยให้ทั้งสองฝ่ายทราบวันสำคัญต่างๆ เช่น วันลงนามในสัญญาซื้อขายฉบับสมบูรณ์
ตรวจสอบเอกสารทางกฎหมายและการเงิน
ในการซื้อต่อร้านออนไลน์ หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายเซ็นสัญญาแสดงเจตจำนง (LOI) แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการตรวจสอบเอกสารทางการเงินและกฎหมายของธุรกิจอย่างละเอียด นี่เป็นโอกาสสำคัญที่ช่วยให้คุณมั่นใจว่าคุณเข้าใจสิ่งที่จะได้รับก่อนการซื้อขายขั้นสุดท้าย
ตัวอย่างเอกสารที่ควรตรวจสอบ ได้แก่
- เอกสารสิทธิ์ทรัพย์สิน เช่น สัญญาเช่าพาณิชย์หรือรายชื่อผู้เช่า
- เอกสารจดทะเบียนธุรกิจ
- ใบอนุญาตหรือใบรับรองที่จำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมหรือพื้นที่นั้นๆ
- สัญญาที่มีอยู่ และตรวจสอบว่าสามารถโอนสิทธิ์ให้เจ้าของใหม่ได้หรือไม่
- เอกสารการตลาดและโฆษณา
- รายงานภาษีธุรกิจย้อนหลัง 3 ปี
- เอกสารการจดทะเบียนบริษัท ใบรับรอง และใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่างๆ
- งบกำไรขาดทุน งบทดลองเงินเดือน งบดุล และงบกระแสเงินสดปัจจุบัน
- ข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินเงินกู้ธุรกิจ
- บันทึกทางกฎหมาย เช่น กรณีฟ้องร้องที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ
ย้อนกลับไปเมื่อ Mona ซื้อต่อร้านออนไลน์ เธออยากให้ตัวเองให้ความสำคัญกับการตรวจสอบงบการเงินมากกว่านี้ “ฉันหวังว่าจะเข้าใจเรื่องอัตรากำไรขั้นต้นได้ชัดเจนกว่านี้” เธอกล่าว “เรื่องนี้จะง่ายขึ้นเมื่อมีสินค้าน้อยชิ้น แต่จะยากขึ้นเมื่อคุณต้องบริหารร้านที่มีสินค้ากว่า 500 ชิ้นอย่างร้านของเรา
“การรู้ว่าสินค้าไหนมีกำไรดีที่สุดช่วยได้มากในหลายๆ ด้าน เช่น การจัดทำงบประมาณ การสั่งซื้อสินค้า ค่าโฆษณาและการตลาด และแน่นอนที่สุด คือผลกำไรสุทธิ”
ปิดดีลซื้อต่อร้านออนไลน์
เมื่อคุณทำการบ้านครบถ้วนและมีการพูดคุยรายละเอียดกับผู้ขายอย่างเต็มที่แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการปิดดีลอย่างเป็นทางการ ข้อตกลงการซื้อขายขั้นสุดท้ายคือสิ่งที่จะทำให้ธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์ เป็นสัญญาที่มีผลทางกฎหมายซึ่งระบุเงื่อนไขที่ทั้งคุณและผู้ขายตกลงร่วมกันไว้
นี่คือวิธีช่วยให้การปิดดีลในการซื้อต่อร้านออนไลน์เป็นไปอย่างราบรื่น
-
ปรึกษาทนายความธุรกิจ:
การมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายช่วยตรวจสอบและเจรจาข้อตกลงการซื้อขายแทนคุณ ถือเป็นทางเลือกที่ฉลาด พวกเขาจะช่วยให้มั่นใจว่าทุกประเด็นที่ตกลงกันไว้ได้รับการระบุไว้อย่างถูกต้องในสัญญา และช่วยปกป้องผลประโยชน์ของคุณ -
วางเงินในบัญชีเอสโครว์:
โดยทั่วไป ผู้ให้กู้หรือสถาบันการเงินจะถือเงินที่จำเป็นไว้ในบัญชีเอสโครว์ วิธีซื้อต่อร้านออนไลน์แบบนี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับทั้งสองฝ่าย โดยเงินจะถูกปล่อยออกมาก็ต่อเมื่อกระบวนการทางกฎหมายเสร็จสิ้นครบถ้วนตามข้อตกลง -
ลงนามเอกสารทางกฎหมาย:
เมื่อข้อตกลงการซื้อขายพร้อมและทุกฝ่ายพอใจกับเงื่อนไขแล้ว ให้ลงนามในเอกสารอย่างเป็นทางการ อย่าลืมอ่านและทำความเข้าใจในทุกข้อที่ระบุไว้ในสัญญาอย่างละเอียด -
รอการปล่อยเงิน:
เมื่อทุกฝ่ายลงนามและปฏิบัติตามเงื่อนไขทุกข้อครบถ้วนแล้ว เงินในบัญชีเอสโครว์จะถูกปล่อยไปยังผู้ขาย และในจุดนี้คุณจะกลายเป็นเจ้าของร้านอย่างเป็นทางการ
อย่าลืมว่าคุณไม่ควรเร่งรีบในขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการซื้อขาย George Moulos ซีอีโอของ Ecommerce Brokers แนะนำไว้ว่า
“ถ้าการซื้อต่อร้านรู้สึกว่าเกิดขึ้นเร็วเกินไป และสัญชาตญาณของคุณบอกว่าดีลนี้อาจไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสำหรับคุณ ผมรับรองได้เลยว่ายังมีดีลดีๆ อีกมากมายรอคุณอยู่ในอนาคต”
ซื้อต่อร้านออนไลน์ได้ที่ไหน
มีตลาดกลางออนไลน์หลายแห่งที่เชื่อถือได้สำหรับการซื้อขายธุรกิจออนไลน์ ตลาดเหล่านี้รวบรวมร้านค้าหลากหลายประเภท ขนาด และช่วงอายุ ตั้งแต่เว็บไซต์แบบ Affiliate ที่เน้นกลุ่มลูกค้าเฉพาะ ไปจนถึงร้านค้าออนไลน์ที่มีฐานลูกค้าและยอดขายมั่นคง
มาดูตัวอย่างตลาดกลางสำหรับการเลือกดูและซื้อต่อร้านออนไลน์กัน อย่าลืมหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตัวเองทุกครั้งเมื่อตัดสินใจเลือกตลาดกลางและติดต่อผู้ขายด้วยนะ
Flippa
Flippa เป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมสำหรับการซื้อต่อร้านออนไลน์ที่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก เว็บไซต์ และโดเมน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการหาธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบสตาร์ทอัพหรือบล็อกที่มีเนื้อหาเฉพาะทาง รายการขายใน Flippa มักให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของร้าน เช่น ข้อมูลทราฟฟิกและรายได้
Empire Flippers

Empire Flippers เว็บสำหรับซื้อต่อร้านออนไลน์ที่มีขั้นตอนการตรวจสอบธุรกิจอย่างละเอียดก่อนที่จะอนุญาตให้นำมาลงขายในตลาดกลาง เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลทางการเงินและสถิติทราฟฟิกที่คุณเห็นนั้นเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้
BizBuySell

BizBuySell มีฐานข้อมูลธุรกิจสำหรับขายจำนวนมาก ซึ่งรวมทั้งธุรกิจออนไลน์และร้านค้าร้านจริงด้วย มีเครื่องมือช่วยกรองการค้นหาตามอุตสาหกรรม สถานที่ และรายได้ ทำให้คุณสามารถปรับแต่งการค้นหาเพื่อหาธุรกิจที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณได้อย่างแม่นยำ
Acquire

Acquire.com กำลังเป็นที่นิยมด้วยอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายและรายการธุรกิจเทคโนโลยีและธุรกิจบนเว็บที่ครอบคลุม หากคุณกำลังมองหาสตาร์ทอัพเทคโนโลยีหรือบริษัทซอฟต์แวร์ นี่อาจเป็นที่ที่เหมาะสมสำหรับคุณ
อ่านเพิ่มเติม: ซื้อธุรกิจออนไลน์ยังไงให้คุ้ม วิธีเลือก แหล่งและข้อควรระวัง
ทำไมต้องซื้อต่อร้านออนไลน์
การซื้อต่อร้านออนไลน์ที่มีอยู่แล้วแทนการเริ่มธุรกิจใหม่ตั้งแต่ต้นมีข้อดีหลายอย่าง
ข้ามขั้นตอนเริ่มต้นที่ยุ่งยาก
การสร้างธุรกิจใหม่ตั้งแต่แรกอาจรู้สึกท้าทายและหนักใจ เพราะคุณต้องสร้างแบรนด์ พัฒนาสินค้า และจัดการระบบหลังบ้าน แต่เมื่อคุณซื้อต่อร้านออนไลน์ที่มีอยู่แล้ว ส่วนที่ยากที่สุดของการเริ่มต้นธุรกิจได้ถูกจัดการไว้เรียบร้อยแล้ว ทุกอย่างตั้งอยู่บนรากฐานที่มั่นคง คุณแค่ก้าวเข้ามาและรับช่วงต่อเท่านั้น
เริ่มขายทันที
หนึ่งในข้อดีที่สำคัญของการซื้อต่อร้านออนไลน์ที่มีอยู่แล้วคือ คุณสามารถเริ่มต้นขายสินค้าได้ทันทีตั้งแต่วันแรก และเน้นไปที่การขยายธุรกิจและเพิ่มยอดขายได้เลย
Alex Yurek เจ้าของ Detour Coffee Roasters มองว่าการซื้อธุรกิจที่มีอยู่แล้วเป็นโอกาสในการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งขึ้น
“มีโอกาสมากมายที่จะปรับปรุงแบรนด์ เพิ่มกิจกรรมทางดิจิทัล และทำให้องค์กรเข้าสู่โหมดการเติบโตจริงๆ” เขากล่าว
ใช้ประโยชน์จากฐานลูกค้าที่มีอยู่
เมื่อคุณซื้อต่อร้านออนไลน์ที่มีอยู่ คุณจะได้เข้าถึงฐานลูกค้าที่ภักดีทันที ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบในการดำเนินงาน
“ด้วยการซื้อต่อร้านที่มีอยู่แล้ว เราได้ฐานข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่ ลูกค้าประจำบางส่วน และระบบที่พร้อมทำงาน ทำให้เราสามารถดำเนินธุรกิจได้ตั้งแต่วันแรก” โรบ เวเธอร์เฮด ที่ปรึกษาด้านดิจิทัลกล่าว
ได้รับทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนที่มีค่า
เมื่อคุณซื้อต่อร้านออนไลน์ คุณไม่ได้รับแค่ลูกค้าหรือสินค้าคงคลังเท่านั้น แต่ยังได้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีค่า เช่น สิทธิบัตร ชื่อเสียงของแบรนด์ และความภักดีของลูกค้า สินทรัพย์เหล่านี้มีคุณค่าอย่างมากและใช้เวลาหลายปีกว่าจะสร้างขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นใหม่ได้
โอกาสในการขยายธุรกิจ
การซื้อต่อร้านออนไลน์ที่มีอยู่ไม่ได้หมายความแค่การรักษาการดำเนินงานเดิมเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสในการเติบโตและพัฒนาธุรกิจ คุณสามารถนำธุรกิจที่มีอยู่ไปสู่ตลาดระดับโลก หรือเปลี่ยนรูปแบบเป็นร้านค้าปลีกจริงหากธุรกิจนั้นปัจจุบันมีแค่ช่องทางออนไลน์เท่านั้น
สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนซื้อต่อร้านออนไลน์
เมื่อคุณกำลังมองหาซื้อต่อร้านออนไลน์ การจัดทำรายการตรวจสอบจะช่วยนำทางในกระบวนการประเมินของคุณ โดยควรมุ่งเน้นในประเด็นสำคัญเหล่านี้เพื่อให้มั่นใจว่าการซื้อของคุณเป็นไปอย่างมีข้อมูลครบถ้วนและรอบคอบ
สินค้าคงคลัง
ตรวจสอบว่าสินค้าในร้านมีอะไรบ้าง และเข้าใจมูลค่าของสินค้าคงคลังนั้น หากธุรกิจระบุว่ารวม “ธุรกิจพร้อมสินค้าคงคลังในมูลค่า” คุณต้องมั่นใจว่ารู้ชัดเจนว่าสินค้าอะไรบ้างที่รวมอยู่ด้วย พิจารณาว่าสินค้าคงคลังเหล่านั้นสอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจในอนาคตที่คุณวางแผนไว้หรือไม่
อุปกรณ์
ตรวจสอบใหแน่ใจว่าอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ดำเนินธุรกิจรวมอยู่ในการขายด้วย หากธุรกิจต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะ เช่น เครื่องพิมพ์สกรีนสำหรับผู้ผลิตเสื้อผ้า ควรยืนยันว่าอุปกรณ์เหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง บางอุปกรณ์อาจถูกเช่าหรือผ่อนชำระ ซึ่งหมายความว่าคุณจะต้องรับผิดชอบการชำระเงินต่อไปด้วย
งบการเงิน
งบการเงินของธุรกิจช่วยให้เห็นภาพรวมผลการดำเนินงานของบริษัท ขอให้นายจ้างปัจจุบันแชร์งบการเงินย้อนหลัง 5 ปี รวมถึงงบดุลปัจจุบัน งบกำไรขาดทุน และรายการยื่นภาษีด้วย
บันทึกการขาย
บันทึกการขายเป็นส่วนสำคัญของการตรวจสอบอย่างละเอียด เพราะช่วยยืนยันว่าบริษัทมีรายได้เท่าไหร่ วิเคราะห์ธุรกรรมทางธุรกิจเพื่อเข้าใจต้นทุนการหาลูกค้าและอัตราการรักษาลูกค้า
บันทึกการขายยังช่วยให้คุณประเมินได้ว่าคุณจะมีระยะเวลาทางการเงินเพียงพอหลังจากรับช่วงธุรกิจต่อหรือไม่ ตามคำแนะนำของโรบ เวเธอร์เฮด
“เราไม่ได้เตรียมงบลงทุนไว้เพียงพอหลังการซื้อ” โรบกล่าว “การดำเนินงานต้องใช้เวลาแม้จะซื้อต่อธุรกิจที่มีอยู่แล้ว ดังนั้นควรเก็บเงินสำรองไว้บ้าง”
การเปิดเผยหนี้สิน
ขอให้ผู้ขายเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินของธุรกิจก่อนที่คุณจะตกลงซื้อต่อร้านออนไลน์ เพราะคุณจะต้องรับผิดชอบหนี้เหล่านี้เมื่อธุรกิจเป็นของคุณแล้ว
ควรตรวจสอบประวัติเครดิตของบริษัท หากเจ้าของปัจจุบันมีประวัติการชำระเงินล่าช้าหรือค้างชำระ อาจส่งผลให้คุณประสบปัญหา เช่น อัตราการอนุมัติสินเชื่อต่ำ หรืออัตราดอกเบี้ยสูงเมื่อต้องขอสินเชื่อในอนาคต
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการซื้อต่อร้านออนไลน์
ตลาด Shopify Exchange ยังมีอยู่หรือไม่?
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2022 เป็นต้นมา ตลาด Shopify Exchange หยุดให้บริการการทำธุรกรรมซื้อขายแล้ว
ความแตกต่างระหว่างการแฟรนไชส์และการซื้อต่อร้านออนไลน์คืออะไร?การซื้อธุรกิจหมายถึงการเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีอยู่แล้วอย่างเต็มตัว รวมถึงสินค้าคงคลังและฐานลูกค้า ส่วนการเป็นแฟรนไชส์คือการซื้อสิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อแบรนด์ที่มีชื่อเสียง พร้อมใช้รูปแบบธุรกิจ โลโก้ และผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว ความแตกต่างสำคัญอยู่ที่การควบคุมและกรรมสิทธิ์ การซื้อธุรกิจทำให้คุณมีอิสระและการควบคุมมากกว่า ขณะที่การเป็นแฟรนไชส์ ผู้ตัดสินใจด้านการดำเนินงานส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากเจ้าของแฟรนไชส์หลัก
จะเทคโอเวอร์ร้านออนไลน์ได้ยังไง- เลือกประเภทร้านที่คุณต้องการซื้อต่อ
- ค้นหาร้านที่มีประกาศขาย
- ทำความเข้าใจเหตุผลเบื้องหลังการขาย
- ประเมินมูลค่าธุรกิจ
- จัดการแผนทางการเงินของคุณ
- ต่อรองราคา
- ร่างและลงนามในจดหมายแสดงเจตจำนง
- ตรวจสอบเอกสารทางกฎหมายอย่างละเอียด
- ปิดการขายโดยลงนามในสัญญาซื้อขาย
หากคุณต้องการซื้อร้านและควบคุมการดำเนินงานโดยสมบูรณ์ คุณมักจะต้องซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงการถือหุ้นมากกว่า 50% ของกิจการ
ต้องซื้อหุ้นกี่เปอร์เซ็นต์ถึงจะได้เป็นเจ้าของธุรกิจจริงๆ แล้วไม่มีเปอร์เซ็นต์ขั้นต่ำที่ต้องซื้อเมื่อคุณซื้อหุ้นบางส่วนของบริษัท แต่ถ้าคุณต้องการรับช่วงและโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมดของธุรกิจ คุณจะต้องถือหุ้นส่วนใหญ่หรือมากกว่า 50% นั่นเอง
วิธีหาเงินทุนสำหรับซื้อต่อร้านออนไลน์มีหลายวิธีที่ช่วยให้คุณหาเงินทุนเพื่อซื้อธุรกิจ เช่น
- การจัดหาเงินทุนจากผู้ขาย ซึ่งเจ้าของเดิมอาจช่วยสนับสนุนการซื้อ
- สินเชื่อ SBA ซึ่งได้รับการรับรองบางส่วนจากรัฐบาล
- สินเชื่อจากธนาคารแบบดั้งเดิม
- การจัดหาเงินทุนโดยใช้บัญชีลูกหนี้ เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ
- สินเชื่อจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ซึ่งอาจมีเงื่อนไขที่ดีกว่าสำหรับสมาชิก
ความแตกต่างระหว่างการแฟรนไชส์และการซื้อต่อร้านออนไลน์คืออะไร?
การซื้อธุรกิจหมายถึงการเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีอยู่แล้วอย่างเต็มตัว รวมถึงสินค้าคงคลังและฐานลูกค้า ส่วนการเป็นแฟรนไชส์คือการซื้อสิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อแบรนด์ที่มีชื่อเสียง พร้อมใช้รูปแบบธุรกิจ โลโก้ และผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว ความแตกต่างสำคัญอยู่ที่การควบคุมและกรรมสิทธิ์ การซื้อธุรกิจทำให้คุณมีอิสระและการควบคุมมากกว่า ขณะที่การเป็นแฟรนไชส์ ผู้ตัดสินใจด้านการดำเนินงานส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากเจ้าของแฟรนไชส์หลัก
จะเทคโอเวอร์ร้านออนไลน์ได้ยังไง- เลือกประเภทร้านที่คุณต้องการซื้อต่อ
- ค้นหาร้านที่มีประกาศขาย
- ทำความเข้าใจเหตุผลเบื้องหลังการขาย
- ประเมินมูลค่าธุรกิจ
- จัดการแผนทางการเงินของคุณ
- ต่อรองราคา
- ร่างและลงนามในจดหมายแสดงเจตจำนง
- ตรวจสอบเอกสารทางกฎหมายอย่างละเอียด
- ปิดการขายโดยลงนามในสัญญาซื้อขาย
หากคุณต้องการซื้อร้านและควบคุมการดำเนินงานโดยสมบูรณ์ คุณมักจะต้องซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงการถือหุ้นมากกว่า 50% ของกิจการ
ต้องซื้อหุ้นกี่เปอร์เซ็นต์ถึงจะได้เป็นเจ้าของธุรกิจจริงๆ แล้วไม่มีเปอร์เซ็นต์ขั้นต่ำที่ต้องซื้อเมื่อคุณซื้อหุ้นบางส่วนของบริษัท แต่ถ้าคุณต้องการรับช่วงและโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมดของธุรกิจ คุณจะต้องถือหุ้นส่วนใหญ่หรือมากกว่า 50% นั่นเอง
วิธีหาเงินทุนสำหรับซื้อต่อร้านออนไลน์มีหลายวิธีที่ช่วยให้คุณหาเงินทุนเพื่อซื้อธุรกิจ เช่น
- การจัดหาเงินทุนจากผู้ขาย ซึ่งเจ้าของเดิมอาจช่วยสนับสนุนการซื้อ
- สินเชื่อ SBA ซึ่งได้รับการรับรองบางส่วนจากรัฐบาล
- สินเชื่อจากธนาคารแบบดั้งเดิม
- การจัดหาเงินทุนโดยใช้บัญชีลูกหนี้ เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ
- สินเชื่อจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ซึ่งอาจมีเงื่อนไขที่ดีกว่าสำหรับสมาชิก
จะเทคโอเวอร์ร้านออนไลน์ได้ยังไง
- เลือกประเภทร้านที่คุณต้องการซื้อต่อ
- ค้นหาร้านที่มีประกาศขาย
- ทำความเข้าใจเหตุผลเบื้องหลังการขาย
- ประเมินมูลค่าธุรกิจ
- จัดการแผนทางการเงินของคุณ
- ต่อรองราคา
- ร่างและลงนามในจดหมายแสดงเจตจำนง
- ตรวจสอบเอกสารทางกฎหมายอย่างละเอียด
- ปิดการขายโดยลงนามในสัญญาซื้อขาย
หากคุณต้องการซื้อร้านและควบคุมการดำเนินงานโดยสมบูรณ์ คุณมักจะต้องซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงการถือหุ้นมากกว่า 50% ของกิจการ
ต้องซื้อหุ้นกี่เปอร์เซ็นต์ถึงจะได้เป็นเจ้าของธุรกิจจริงๆ แล้วไม่มีเปอร์เซ็นต์ขั้นต่ำที่ต้องซื้อเมื่อคุณซื้อหุ้นบางส่วนของบริษัท แต่ถ้าคุณต้องการรับช่วงและโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมดของธุรกิจ คุณจะต้องถือหุ้นส่วนใหญ่หรือมากกว่า 50% นั่นเอง
วิธีหาเงินทุนสำหรับซื้อต่อร้านออนไลน์มีหลายวิธีที่ช่วยให้คุณหาเงินทุนเพื่อซื้อธุรกิจ เช่น
- การจัดหาเงินทุนจากผู้ขาย ซึ่งเจ้าของเดิมอาจช่วยสนับสนุนการซื้อ
- สินเชื่อ SBA ซึ่งได้รับการรับรองบางส่วนจากรัฐบาล
- สินเชื่อจากธนาคารแบบดั้งเดิม
- การจัดหาเงินทุนโดยใช้บัญชีลูกหนี้ เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ
- สินเชื่อจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ซึ่งอาจมีเงื่อนไขที่ดีกว่าสำหรับสมาชิก
การซื้อต่อร้านออนไลน์เป็นความคิดที่ดีหรือไม่
หากคุณต้องการซื้อร้านและควบคุมการดำเนินงานโดยสมบูรณ์ คุณมักจะต้องซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงการถือหุ้นมากกว่า 50% ของกิจการ
ต้องซื้อหุ้นกี่เปอร์เซ็นต์ถึงจะได้เป็นเจ้าของธุรกิจจริงๆ แล้วไม่มีเปอร์เซ็นต์ขั้นต่ำที่ต้องซื้อเมื่อคุณซื้อหุ้นบางส่วนของบริษัท แต่ถ้าคุณต้องการรับช่วงและโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมดของธุรกิจ คุณจะต้องถือหุ้นส่วนใหญ่หรือมากกว่า 50% นั่นเอง
วิธีหาเงินทุนสำหรับซื้อต่อร้านออนไลน์มีหลายวิธีที่ช่วยให้คุณหาเงินทุนเพื่อซื้อธุรกิจ เช่น
- การจัดหาเงินทุนจากผู้ขาย ซึ่งเจ้าของเดิมอาจช่วยสนับสนุนการซื้อ
- สินเชื่อ SBA ซึ่งได้รับการรับรองบางส่วนจากรัฐบาล
- สินเชื่อจากธนาคารแบบดั้งเดิม
- การจัดหาเงินทุนโดยใช้บัญชีลูกหนี้ เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ
- สินเชื่อจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ซึ่งอาจมีเงื่อนไขที่ดีกว่าสำหรับสมาชิก
ต้องซื้อหุ้นกี่เปอร์เซ็นต์ถึงจะได้เป็นเจ้าของธุรกิจ
จริงๆ แล้วไม่มีเปอร์เซ็นต์ขั้นต่ำที่ต้องซื้อเมื่อคุณซื้อหุ้นบางส่วนของบริษัท แต่ถ้าคุณต้องการรับช่วงและโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมดของธุรกิจ คุณจะต้องถือหุ้นส่วนใหญ่หรือมากกว่า 50% นั่นเอง
วิธีหาเงินทุนสำหรับซื้อต่อร้านออนไลน์มีหลายวิธีที่ช่วยให้คุณหาเงินทุนเพื่อซื้อธุรกิจ เช่น
- การจัดหาเงินทุนจากผู้ขาย ซึ่งเจ้าของเดิมอาจช่วยสนับสนุนการซื้อ
- สินเชื่อ SBA ซึ่งได้รับการรับรองบางส่วนจากรัฐบาล
- สินเชื่อจากธนาคารแบบดั้งเดิม
- การจัดหาเงินทุนโดยใช้บัญชีลูกหนี้ เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ
- สินเชื่อจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ซึ่งอาจมีเงื่อนไขที่ดีกว่าสำหรับสมาชิก
วิธีหาเงินทุนสำหรับซื้อต่อร้านออนไลน์
มีหลายวิธีที่ช่วยให้คุณหาเงินทุนเพื่อซื้อธุรกิจ เช่น
- การจัดหาเงินทุนจากผู้ขาย ซึ่งเจ้าของเดิมอาจช่วยสนับสนุนการซื้อ
- สินเชื่อ SBA ซึ่งได้รับการรับรองบางส่วนจากรัฐบาล
- สินเชื่อจากธนาคารแบบดั้งเดิม
- การจัดหาเงินทุนโดยใช้บัญชีลูกหนี้ เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ
- สินเชื่อจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ซึ่งอาจมีเงื่อนไขที่ดีกว่าสำหรับสมาชิก